วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 15 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 15 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 



   วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มทำอาหาร กลุ่มของฉันทำข้าวผัดและกล้วยบวชชี









วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 14 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 14 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 



     วันนี้อาจารย์สอนเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก 

    ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก

1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร

2. ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม

3. อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้งแยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ประกอบอาหารก็ต้องสะอาดด้วย

4. อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลงไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้

5. อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส

6. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้

7. สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด

8. ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่างหรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา

9. ให้กินน้ำแกงจืดผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผักแต่ต้องไม่เค็ม

10. เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าวหรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก

1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรกเพราะจะทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่

2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้

3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อยๆ

4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็กๆป้อนเพราะต้องการให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน

5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิดเพื่อดูการยอมรับของเด็กทารกและเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่

6. ควรจัดให้กินอาหารของเหลวก่อน

7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์และช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก

8.เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบดเพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว

9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ๆ

10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันถัดไป

11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด




วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 13 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 13 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 10 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 




วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย 

ความหมายของคำว่า " จริยธรรม " 

" จริยธรรม " คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร

" จริยธรรม "  คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ

คุณธรรมพื้นฐานสำคัญที่ควรเร่งปลูกฝังมี 8 ประการ ประกอบด้วย
  1. ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
  1. ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
  1. ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้องง
  1. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
  1. สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
  1. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
  1. สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  1. มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน



วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 12 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 12 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 




วันนี้ไปเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ๑๒๕ ปี อัยการไทย 






วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 11 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 11 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 



   อาจารย์ให้จับกลุ่มไปสัมภาษณ์ครูปฐมวัยในโรงเรียนที่นักเรียนอยากไปสัมภาษณ์ 

คำถามที่อาจารย์ให้ไป 

เรื่องบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยที่อาจารย์จะกำหนดหัวข้อมาให้
5 หัวข้อ ดังนี้

1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง

2. ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร

3. ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร

4. ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้าง อย่างไร


5. ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร


     



วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 10 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 10 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 



       วันนี้อาจารย์สอนเรื่องแนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

ความหมายของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมภายในบุคคล : การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร  ระบบขับถ่าย  ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

2. สิ่งแวดล้อมภายนอก :  สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม : เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคมทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกันกระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้นจะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน

2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม

4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย

2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม

3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา

การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย

1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน : เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน

2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน : ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ 

สนาม

สวนในโรงเรียน

การจัดสภาพแวดล้อม

1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย สะอาด ดึงดูดใจ และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น

2. พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆหรือกลุ่มใหญ่

3. พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆอาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล

4. สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว ( ก้านมะลิ ) สีฟ้า ( เทอร์ควอยช์ )  สีเหลือง ( อ่อน ) เป็นต้น

5. สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กมีปริมาณเพียงพอ มีหลากหลาย และมีความทนทาน

6. จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน

7. ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร

8. สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะ สนามหญ้า

9. ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้

10. พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท

11. ห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ

12. สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ

13. เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย

14. ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ

15. สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง

16. สถานที่รับประทานอาหาร ตัวอาคารไม่อับทึบ ไม่มีหยาบไย่ มีแสงสว่างเพียงพอ พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง




วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 9 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 9 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561



สอบกลางภาค





วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 8 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 8 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 6 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 



     วันนี้ิอาจรย์สอนเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ความหมายและความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

     การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู : คุณภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละคนตามวัยต่างๆโดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนและประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยปัจจุบันการเรียนรู้ครั้งแรกของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยถือว่าพ่อแม่ คือครูคนแรกของลูก

ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก : ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่นั่นเอง เด็กแต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อแม่ต่างกัน เช่น ลูกสาวมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อมากกว่าแม่ หรือลูกชายมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อเป็นต้น

วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อาจจัดได้ 4 วิธี ดังนี้

1. การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย

2. การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก

3. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย

4. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป

การดูแลเด็กทารก : นับตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆของชีวิตในทุกๆด้านเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรใช้ระยะเวลานี้เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการจำเป็นต่างๆเพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน : เด็กวัยตอนต้นมีอายุ 2-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตเพราะเป็นวัยของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตเป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญ

การเลียนแบบของเด็กวัยก่อนเรียนแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ

1. การเรียนแบบบทบาททางเพศ

2. การเลียนแบบส่วนตัวที่ไม่ใช่บทบาททางเพศ

3. การเลียนแบบกับการพัฒนาศีลธรรม

ปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน

1. ปัญหาด้านสุขภาพ  สุขภาพจิต  สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัวแม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กอย่างทารุณ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

2. ปัญหาด้านโภชนาการ  สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ แม่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร

3. ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน สาเหตุของปัญหา คือ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็ก

4. ปัญหาด้านสังคม  วัฒนธรรม และจริยธรรม สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ เด็กเป็นบุตรนอกสมรสและเกิดจากการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษาและขาดความรับผิดชอบครอบครัวแตกแยก 


วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนนำบทความการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
บทความของฉัันคือ
การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

       ขอบเขตของความรู้ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและแผ่ขยายออกปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเชิงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นอนาคต โดยเฉพาะศักยภาพในการคิดและสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ให้เกิดขึ้น ความท้าทายที่จะกระตุ้นให้มนุษย์ได้เกิดความกระหายใคร่รู้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสิ่งใหม่ๆ ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเดิมๆ โดยดึงเอาประสบการณ์เก่าๆ ออกมาทั้งหมด และเลือกที่จะสร้างแบบแผนใหม่ๆ ออกมาให้ปรากฏ ซึ่งการจัดแบบแผนของการคิดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดคล่องตัว (Fluency) เป็นความสามารถที่ผลิตความคิดที่นุ่มนวลและรวดเร็วในการแก้ปัญหา และความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการค้นพบลักษณะที่มีความหลากหลาย สมองมนุษย์ สามารถคิดเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันระหว่างความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้เดิมและการต่อเติมจินตนาการออกไป
       การพัฒนาและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จึงจำเป็นที่ต้องบ่มเพาะตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลของชาติในอนาคต ความคิดสร้างสรรค์เป็นสมรรถภาพทางด้านสมองที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เป็นพลังทางความคิดและพลังที่แสดงออกแล้วมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
        ความคิดสร้างสรรค์เป็นพฤติกรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่จะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของสังคมปัจจุบันอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ขบคิด และแก้ปัญหาและพร้อมที่จะกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม


      คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ สามารถสรุปได้เป็น 2 มิติ คือ มิติทางสังคม และมิติทางปัจเจกชน ซึ่งมิติทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลได้คิดสร้างสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขและความก้าวหน้าของสังคม หรือหาวิธีแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จ มีประโยชน์ต่อสังคม ส่วนมิติทางปัจเจกชนเป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ภาคภูมิใจและมั่นใจในความสามารถของตนเอง จะส่งผลไปถึงแบบแผนบุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
       ความคิดสร้างสรรค์สามารถช่วยในการคิดแก้ปัญหา สร้างความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งแสดงออกโดยการศึกษา ค้นคว้า ค้นหา ทดลอง และยังก่อให้เกิดจินตนาการ ความผิดแผกและท้าทายให้เกิดการสร้างมุมมองใหม่ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สังคมต้องการ นั่นหมายความว่า ความคิดสร้างสรรค์จะต้องเกิดการสร้างสิ่งแปลกใหม่ นำไปประยุกต์ใช้ได้และมีความเหมาะสมสอดคล้องตามสภาวการณ์
       ผืที่มีความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นบุคคลที่สำคัญและสังคมต้องการ การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยจึงเป็นช่วงแห่งการสร้างรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมกระบวนการคิดให้มีความฉับไว สามารถที่จะรับรู้ปัญหา เห็นปัญหา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ๆ ได้ง่าย สร้างหรือแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับ การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนรู้สามารถค้นพบปัญหา วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งสมมติฐานของปัญหา ทอสอบสมมติฐาน และค้นพบคำตอบ ค้นพบสิ่งใหม่ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
       การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไปจากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก – ก่อนวัยเรียน (อายุ 0-6 ปี) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรก ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุผลมากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง
     ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความคิดส่วนบุคคลที่สามารถคิดได้อย่างหลากหลายและคิดได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เราสามรถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก สามารถสรุปได้ดังนี้

มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ กระตุ้นความคิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น
ชอบสืบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและทดลอง
ชอบซักถาม พูดคุยและตั้งคำถามที่แปลกๆ
ช่างสงสัยและแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ
ช่างสังเกต จดจำ และค้นพบสิ่งที่ขาดหายไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ถ้าเกิดข้อสงสัยจะต้องรีบหาคำตอบโดยไม่ต้อรีรอ
มีอารมณ์ขันเสมอ สร้างความสุขในโลกส่วนตัวด้วยมุมมองที่แปลก
มีสมาธิในสิ่งที่ตนสนใจ
พึงพอใจและสนุกสนานกับการใช้ความคิด
สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เปิดกว้างทางความคิดเพื่อพิจารณา
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความเชื่อมั่นทางความคิดและการกระทำ
มีความสามารถทางด้านการจินตนาการชอบคิดหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้แก้ปัญหา
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตและส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการทางความคิดให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมและตนเองได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จะเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนโดยเน้นกระบวนการ เทคนิควิธีเป็นสำคัญ มากกว่าการเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาสาระ เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีที่แฝงเร้นภายในตัวตนของบุคคล การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัยจึงสามารถที่จะกระทำได้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย
       กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีความต่อเนื่อง มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กตามระดับ และความสามารถในการแสดงออก เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกได้อย่างอิสระเท่าที่โอกาสและสิ่งแวดล้อมจะอำนวย การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องมาจากประสบการณ์การเล่น การได้สัมผัสต่างๆ ด้วยตัวเด็กเอง เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยที่การเรียนรู้ของเด็กได้มาจากการเล่นเป็นสำคัญ การสร้างสถานการณ์และจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรีย
       การส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถทำด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธีด้วยกัน อาทิการระดมพลังสมอง การคิดให้ได้ปริมาณมากและมีคุณภาพในช่วงเวลาที่จำกัด การฝึกจินตนาการหรือการคิดฝัน คิดในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น การฝึกแก้ปัญหาสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและอิสระ ช่วงแรกของชีวิตจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
      การส่งเสริมและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การส่งเสริมอิสรภาพในการทำงาน การหัดให้เด็กได้รู้จักชื่นชม และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ที่ควรได้รับการพัฒนา การจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำตามที่เด็กพึงพอใจ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ การสร้างวินัยในการทำงานที่ดี การให้โอกาสเด็กเพื่อค้นพบการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าและทดลองเพื่อค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง และคำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน


การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องให้เด็กฝึกคิดแลกไปจากคนอื่น ฝึกหัดให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกตนองให้มีความคุ้นเคยกับสิ่งที่แปลกอยู่เป็นประจำ ให้อิสรภาพและเวลาในการคิด คิดเชิงสมมติอยู่เสมอกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างคลุมเครือ ไม่ยึดติดกับความถูกต้องและความผิดพลาด แนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น    ได้แก่
       สอนให้เด็กได้รู้จักคิด คิดเป็น คิดหลายๆ แง่ และสามารถคิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ
กระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการถาม และสนใจต่อคำถามของเด็ก
นำวิธีการสอนที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดในเชิงสร้างสรรค์
สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระ
จัดสภาพห้องเรียนให้ดูแปลกใหม่อยู่เสมอ
ไม่ควรกำหนดรูปแบบความคิดและบุคลิกภาพของเด็กมากเกินไป
เมื่อเด็กเล่นจะแสดงพฤติกรรมอันเป็นความสามารถส่วนรวมในระดับที่มีอยู่ในตัวออกมา การคิดอย่างหลากหลายทิศทาง คิดริเริ่ม และคิดแก้ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการเล่นอย่างอิสระผ่านของเล่นเป็นเครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่น ซึ่งการเลือกของเล่นต้องใช้อายุเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องอุปกรณ์สำเร็จรูปเพียงแต่อุปกรณ์ของเล่นต้องเป็นอุปกรณ์ที่เปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบตัวเองได้คิด ค้นหา พัฒนาและคิดสร้างสรรค์ เช่น แท่งไม้ เศษผ้า ซึ่งเด็กสามารถนำไปคิดเป็นของเล่นได้หลายทิศทาง ภายหลังการเลือกของเล่นที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แล้ว ผู้ปกครองต้องพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ มีใจกว้างที่จะยอมรับความคิดเห็นการกระทำและผลงานของเด็ก ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจแก่เด็กผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
     เด็กปฐมวัยพัฒนาสติปัญญาของตนเพื่อการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวจากการสังเกต การเล่น และการซุกถามสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น พฤติกรรมทางการจำแนก การมองเห็น ความสัมพันธ์ และการเรียงลำดับ โดยเด็กจะพยายามเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของเด็กวัยนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงที่ได้รับการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม เด็กต้องเกิดความภูมิใจ และพอใจที่จะทำพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งนั้นๆ
     การจัดหาและเลือกสื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อดังนี้

ความเหมาะสมของสื่อตามวัยของเด็ก วัยปฐมวัยนั้นควรเป็นสื่อที่ช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้มีความอยากรู้อยากเห็น
คุณภาพในแง่ความปลอดภัย ความคงทน และการออกแบบ สื่อที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก สีต้องไม่สะสมปนตะกั่ว ขนาดมุมไม่แหลมคม
ประโยชน์ใช้สอย สื่อที่มีคุณภาพ ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่าง หรือนำมาดัดแปลงใช้ได้หลายโอกาส เล่นได้หลายคน และหลายวัตถุประสงค์
ประหยัด สะดวกในการจัดหาให้มีความหลากหลายและจำนวนที่เพียงพอ สื่อที่จะให้ประสบการณ์ตรงกับเด็กนั้นควรจะหาซื้อง่าย หรืออาจทำขึ้นมาได้เอง
การจัดประสบการณ์เพื่อการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยสื่อของเล่นจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกถึงความรู้สึกของตน การขีดเขียนด้วยเครื่องมือต่างๆ การสร้างด้วยวัสดุต่างๆ ให้เด็กมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักจัดหาและเลือกสื่อที่มีประโยชน์มีประสิทธิภาพและประหยัดมาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กด้วย
    การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ระหว่างที่เด็กเกิดปฏิสัมพันธ์กับสื่อของเล่นต่างๆ เป็นสิ่งที่ครูและผู้ปกครองคำนึงถึงว่าจะขาดเสียเลยมิได้ การสร้างบรรยากาศในการเล่น เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถจัดกระทำได้ ดังนี้


สร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิต บรรยากาศแห่งความไว้วางใจและการสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้เด็กมีอิสระในการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีบุคคลอื่น หรือสิ่งอื่นใดมารบกวนการเล่น
เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์งานจากสื่อของเล่นด้วยตัวเอง
ให้ความสนใจ และส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ โดยพยายามขจัดอุปสรรค หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้น้อยลง
สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับอีกทั้งกระตุ้นให้แสดงความคิดอย่างอิสระด้วยสถานการการเรียนแบบร่วมมือกันโดยไม่มีการแข่งขัน
จัดห้องเรียนแบบยืดหยุ่น ให้มีพื้นที่กว้างๆ เพื่อสามารถทำกิจกรรมบนพื้น ละสามารถดัดแปลงให้ทำงานเป็นกลุ่ม จับคู่ หรือทำงานเดี่ยว อย่างคล่องตัว
ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของความคิดเห็น และคำถามของเด็ก อีกทั้งพยายามตอบคำถามอย่างจริงจังเพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นและคำถามนั้นมีคุณค่า
บรรยากาศการเล่นเป็นปัจจัยเอื้อให้เด็กได้นำเสนอ และดึงความคิดสร้างสรรค์ที่แฝงเร้นภายในตัวเองออกมา เมื่อการเล่นไม่ใช่อุปสรรค์ที่ขวางกั้น การเกิดและปรับขยายให้กลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ โอกาสที่พัฒนาความคิดจะงอกงามก็จะเป็นไปได้
     ผู้ปกครองและนักการศึกษาควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาจินตนาการ กระตุ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพที่แท้จริงด้วยสื่อของเล่น การสร้างสภาวะไร้ขอบเขตจะช่วยให้เด็กไม่ติดตันทางความคิด ผลผลิตแห่งการคิดอย่างอิสระก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่และเหมาะสมต่อการพัฒนาตนเองและสังคม เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของชาติให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์ การส่งเสริมความงอกงามของความคิดสร้างสรรค์จึงต้องกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นทักษะตั้งแต่ขวบปีแรก