วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนนำบทความการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
บทความของฉัันคือ
การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

       ขอบเขตของความรู้ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและแผ่ขยายออกปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเชิงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นอนาคต โดยเฉพาะศักยภาพในการคิดและสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ให้เกิดขึ้น ความท้าทายที่จะกระตุ้นให้มนุษย์ได้เกิดความกระหายใคร่รู้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสิ่งใหม่ๆ ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเดิมๆ โดยดึงเอาประสบการณ์เก่าๆ ออกมาทั้งหมด และเลือกที่จะสร้างแบบแผนใหม่ๆ ออกมาให้ปรากฏ ซึ่งการจัดแบบแผนของการคิดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดคล่องตัว (Fluency) เป็นความสามารถที่ผลิตความคิดที่นุ่มนวลและรวดเร็วในการแก้ปัญหา และความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการค้นพบลักษณะที่มีความหลากหลาย สมองมนุษย์ สามารถคิดเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันระหว่างความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้เดิมและการต่อเติมจินตนาการออกไป
       การพัฒนาและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จึงจำเป็นที่ต้องบ่มเพาะตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลของชาติในอนาคต ความคิดสร้างสรรค์เป็นสมรรถภาพทางด้านสมองที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เป็นพลังทางความคิดและพลังที่แสดงออกแล้วมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
        ความคิดสร้างสรรค์เป็นพฤติกรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่จะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของสังคมปัจจุบันอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ขบคิด และแก้ปัญหาและพร้อมที่จะกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม


      คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ สามารถสรุปได้เป็น 2 มิติ คือ มิติทางสังคม และมิติทางปัจเจกชน ซึ่งมิติทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลได้คิดสร้างสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขและความก้าวหน้าของสังคม หรือหาวิธีแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จ มีประโยชน์ต่อสังคม ส่วนมิติทางปัจเจกชนเป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ภาคภูมิใจและมั่นใจในความสามารถของตนเอง จะส่งผลไปถึงแบบแผนบุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
       ความคิดสร้างสรรค์สามารถช่วยในการคิดแก้ปัญหา สร้างความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งแสดงออกโดยการศึกษา ค้นคว้า ค้นหา ทดลอง และยังก่อให้เกิดจินตนาการ ความผิดแผกและท้าทายให้เกิดการสร้างมุมมองใหม่ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สังคมต้องการ นั่นหมายความว่า ความคิดสร้างสรรค์จะต้องเกิดการสร้างสิ่งแปลกใหม่ นำไปประยุกต์ใช้ได้และมีความเหมาะสมสอดคล้องตามสภาวการณ์
       ผืที่มีความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นบุคคลที่สำคัญและสังคมต้องการ การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยจึงเป็นช่วงแห่งการสร้างรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมกระบวนการคิดให้มีความฉับไว สามารถที่จะรับรู้ปัญหา เห็นปัญหา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ๆ ได้ง่าย สร้างหรือแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับ การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนรู้สามารถค้นพบปัญหา วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งสมมติฐานของปัญหา ทอสอบสมมติฐาน และค้นพบคำตอบ ค้นพบสิ่งใหม่ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
       การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไปจากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก – ก่อนวัยเรียน (อายุ 0-6 ปี) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรก ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุผลมากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง
     ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความคิดส่วนบุคคลที่สามารถคิดได้อย่างหลากหลายและคิดได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เราสามรถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก สามารถสรุปได้ดังนี้

มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ กระตุ้นความคิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น
ชอบสืบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและทดลอง
ชอบซักถาม พูดคุยและตั้งคำถามที่แปลกๆ
ช่างสงสัยและแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ
ช่างสังเกต จดจำ และค้นพบสิ่งที่ขาดหายไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ถ้าเกิดข้อสงสัยจะต้องรีบหาคำตอบโดยไม่ต้อรีรอ
มีอารมณ์ขันเสมอ สร้างความสุขในโลกส่วนตัวด้วยมุมมองที่แปลก
มีสมาธิในสิ่งที่ตนสนใจ
พึงพอใจและสนุกสนานกับการใช้ความคิด
สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เปิดกว้างทางความคิดเพื่อพิจารณา
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความเชื่อมั่นทางความคิดและการกระทำ
มีความสามารถทางด้านการจินตนาการชอบคิดหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้แก้ปัญหา
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตและส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการทางความคิดให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมและตนเองได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จะเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนโดยเน้นกระบวนการ เทคนิควิธีเป็นสำคัญ มากกว่าการเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาสาระ เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีที่แฝงเร้นภายในตัวตนของบุคคล การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัยจึงสามารถที่จะกระทำได้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย
       กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีความต่อเนื่อง มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กตามระดับ และความสามารถในการแสดงออก เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกได้อย่างอิสระเท่าที่โอกาสและสิ่งแวดล้อมจะอำนวย การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องมาจากประสบการณ์การเล่น การได้สัมผัสต่างๆ ด้วยตัวเด็กเอง เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยที่การเรียนรู้ของเด็กได้มาจากการเล่นเป็นสำคัญ การสร้างสถานการณ์และจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรีย
       การส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถทำด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธีด้วยกัน อาทิการระดมพลังสมอง การคิดให้ได้ปริมาณมากและมีคุณภาพในช่วงเวลาที่จำกัด การฝึกจินตนาการหรือการคิดฝัน คิดในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น การฝึกแก้ปัญหาสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและอิสระ ช่วงแรกของชีวิตจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
      การส่งเสริมและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การส่งเสริมอิสรภาพในการทำงาน การหัดให้เด็กได้รู้จักชื่นชม และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ที่ควรได้รับการพัฒนา การจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำตามที่เด็กพึงพอใจ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ การสร้างวินัยในการทำงานที่ดี การให้โอกาสเด็กเพื่อค้นพบการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าและทดลองเพื่อค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง และคำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน


การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องให้เด็กฝึกคิดแลกไปจากคนอื่น ฝึกหัดให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกตนองให้มีความคุ้นเคยกับสิ่งที่แปลกอยู่เป็นประจำ ให้อิสรภาพและเวลาในการคิด คิดเชิงสมมติอยู่เสมอกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างคลุมเครือ ไม่ยึดติดกับความถูกต้องและความผิดพลาด แนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น    ได้แก่
       สอนให้เด็กได้รู้จักคิด คิดเป็น คิดหลายๆ แง่ และสามารถคิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ
กระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการถาม และสนใจต่อคำถามของเด็ก
นำวิธีการสอนที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดในเชิงสร้างสรรค์
สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระ
จัดสภาพห้องเรียนให้ดูแปลกใหม่อยู่เสมอ
ไม่ควรกำหนดรูปแบบความคิดและบุคลิกภาพของเด็กมากเกินไป
เมื่อเด็กเล่นจะแสดงพฤติกรรมอันเป็นความสามารถส่วนรวมในระดับที่มีอยู่ในตัวออกมา การคิดอย่างหลากหลายทิศทาง คิดริเริ่ม และคิดแก้ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการเล่นอย่างอิสระผ่านของเล่นเป็นเครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่น ซึ่งการเลือกของเล่นต้องใช้อายุเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องอุปกรณ์สำเร็จรูปเพียงแต่อุปกรณ์ของเล่นต้องเป็นอุปกรณ์ที่เปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบตัวเองได้คิด ค้นหา พัฒนาและคิดสร้างสรรค์ เช่น แท่งไม้ เศษผ้า ซึ่งเด็กสามารถนำไปคิดเป็นของเล่นได้หลายทิศทาง ภายหลังการเลือกของเล่นที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แล้ว ผู้ปกครองต้องพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ มีใจกว้างที่จะยอมรับความคิดเห็นการกระทำและผลงานของเด็ก ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจแก่เด็กผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
     เด็กปฐมวัยพัฒนาสติปัญญาของตนเพื่อการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวจากการสังเกต การเล่น และการซุกถามสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น พฤติกรรมทางการจำแนก การมองเห็น ความสัมพันธ์ และการเรียงลำดับ โดยเด็กจะพยายามเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของเด็กวัยนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงที่ได้รับการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม เด็กต้องเกิดความภูมิใจ และพอใจที่จะทำพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งนั้นๆ
     การจัดหาและเลือกสื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อดังนี้

ความเหมาะสมของสื่อตามวัยของเด็ก วัยปฐมวัยนั้นควรเป็นสื่อที่ช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้มีความอยากรู้อยากเห็น
คุณภาพในแง่ความปลอดภัย ความคงทน และการออกแบบ สื่อที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก สีต้องไม่สะสมปนตะกั่ว ขนาดมุมไม่แหลมคม
ประโยชน์ใช้สอย สื่อที่มีคุณภาพ ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่าง หรือนำมาดัดแปลงใช้ได้หลายโอกาส เล่นได้หลายคน และหลายวัตถุประสงค์
ประหยัด สะดวกในการจัดหาให้มีความหลากหลายและจำนวนที่เพียงพอ สื่อที่จะให้ประสบการณ์ตรงกับเด็กนั้นควรจะหาซื้อง่าย หรืออาจทำขึ้นมาได้เอง
การจัดประสบการณ์เพื่อการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยสื่อของเล่นจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกถึงความรู้สึกของตน การขีดเขียนด้วยเครื่องมือต่างๆ การสร้างด้วยวัสดุต่างๆ ให้เด็กมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักจัดหาและเลือกสื่อที่มีประโยชน์มีประสิทธิภาพและประหยัดมาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กด้วย
    การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ระหว่างที่เด็กเกิดปฏิสัมพันธ์กับสื่อของเล่นต่างๆ เป็นสิ่งที่ครูและผู้ปกครองคำนึงถึงว่าจะขาดเสียเลยมิได้ การสร้างบรรยากาศในการเล่น เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถจัดกระทำได้ ดังนี้


สร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิต บรรยากาศแห่งความไว้วางใจและการสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้เด็กมีอิสระในการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีบุคคลอื่น หรือสิ่งอื่นใดมารบกวนการเล่น
เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์งานจากสื่อของเล่นด้วยตัวเอง
ให้ความสนใจ และส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ โดยพยายามขจัดอุปสรรค หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้น้อยลง
สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับอีกทั้งกระตุ้นให้แสดงความคิดอย่างอิสระด้วยสถานการการเรียนแบบร่วมมือกันโดยไม่มีการแข่งขัน
จัดห้องเรียนแบบยืดหยุ่น ให้มีพื้นที่กว้างๆ เพื่อสามารถทำกิจกรรมบนพื้น ละสามารถดัดแปลงให้ทำงานเป็นกลุ่ม จับคู่ หรือทำงานเดี่ยว อย่างคล่องตัว
ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของความคิดเห็น และคำถามของเด็ก อีกทั้งพยายามตอบคำถามอย่างจริงจังเพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นและคำถามนั้นมีคุณค่า
บรรยากาศการเล่นเป็นปัจจัยเอื้อให้เด็กได้นำเสนอ และดึงความคิดสร้างสรรค์ที่แฝงเร้นภายในตัวเองออกมา เมื่อการเล่นไม่ใช่อุปสรรค์ที่ขวางกั้น การเกิดและปรับขยายให้กลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ โอกาสที่พัฒนาความคิดจะงอกงามก็จะเป็นไปได้
     ผู้ปกครองและนักการศึกษาควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาจินตนาการ กระตุ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพที่แท้จริงด้วยสื่อของเล่น การสร้างสภาวะไร้ขอบเขตจะช่วยให้เด็กไม่ติดตันทางความคิด ผลผลิตแห่งการคิดอย่างอิสระก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่และเหมาะสมต่อการพัฒนาตนเองและสังคม เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของชาติให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์ การส่งเสริมความงอกงามของความคิดสร้างสรรค์จึงต้องกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นทักษะตั้งแต่ขวบปีแรก

       


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น