วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนนำบทความการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
บทความของฉัันคือ
การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

       ขอบเขตของความรู้ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและแผ่ขยายออกปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเชิงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นอนาคต โดยเฉพาะศักยภาพในการคิดและสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ให้เกิดขึ้น ความท้าทายที่จะกระตุ้นให้มนุษย์ได้เกิดความกระหายใคร่รู้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสิ่งใหม่ๆ ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเดิมๆ โดยดึงเอาประสบการณ์เก่าๆ ออกมาทั้งหมด และเลือกที่จะสร้างแบบแผนใหม่ๆ ออกมาให้ปรากฏ ซึ่งการจัดแบบแผนของการคิดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดคล่องตัว (Fluency) เป็นความสามารถที่ผลิตความคิดที่นุ่มนวลและรวดเร็วในการแก้ปัญหา และความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการค้นพบลักษณะที่มีความหลากหลาย สมองมนุษย์ สามารถคิดเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันระหว่างความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้เดิมและการต่อเติมจินตนาการออกไป
       การพัฒนาและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จึงจำเป็นที่ต้องบ่มเพาะตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลของชาติในอนาคต ความคิดสร้างสรรค์เป็นสมรรถภาพทางด้านสมองที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เป็นพลังทางความคิดและพลังที่แสดงออกแล้วมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
        ความคิดสร้างสรรค์เป็นพฤติกรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่จะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของสังคมปัจจุบันอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ขบคิด และแก้ปัญหาและพร้อมที่จะกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม


      คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ สามารถสรุปได้เป็น 2 มิติ คือ มิติทางสังคม และมิติทางปัจเจกชน ซึ่งมิติทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลได้คิดสร้างสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขและความก้าวหน้าของสังคม หรือหาวิธีแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จ มีประโยชน์ต่อสังคม ส่วนมิติทางปัจเจกชนเป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ภาคภูมิใจและมั่นใจในความสามารถของตนเอง จะส่งผลไปถึงแบบแผนบุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
       ความคิดสร้างสรรค์สามารถช่วยในการคิดแก้ปัญหา สร้างความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งแสดงออกโดยการศึกษา ค้นคว้า ค้นหา ทดลอง และยังก่อให้เกิดจินตนาการ ความผิดแผกและท้าทายให้เกิดการสร้างมุมมองใหม่ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สังคมต้องการ นั่นหมายความว่า ความคิดสร้างสรรค์จะต้องเกิดการสร้างสิ่งแปลกใหม่ นำไปประยุกต์ใช้ได้และมีความเหมาะสมสอดคล้องตามสภาวการณ์
       ผืที่มีความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นบุคคลที่สำคัญและสังคมต้องการ การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยจึงเป็นช่วงแห่งการสร้างรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมกระบวนการคิดให้มีความฉับไว สามารถที่จะรับรู้ปัญหา เห็นปัญหา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ๆ ได้ง่าย สร้างหรือแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับ การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนรู้สามารถค้นพบปัญหา วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งสมมติฐานของปัญหา ทอสอบสมมติฐาน และค้นพบคำตอบ ค้นพบสิ่งใหม่ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
       การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไปจากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก – ก่อนวัยเรียน (อายุ 0-6 ปี) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรก ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุผลมากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง
     ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความคิดส่วนบุคคลที่สามารถคิดได้อย่างหลากหลายและคิดได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เราสามรถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก สามารถสรุปได้ดังนี้

มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ กระตุ้นความคิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น
ชอบสืบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและทดลอง
ชอบซักถาม พูดคุยและตั้งคำถามที่แปลกๆ
ช่างสงสัยและแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ
ช่างสังเกต จดจำ และค้นพบสิ่งที่ขาดหายไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ถ้าเกิดข้อสงสัยจะต้องรีบหาคำตอบโดยไม่ต้อรีรอ
มีอารมณ์ขันเสมอ สร้างความสุขในโลกส่วนตัวด้วยมุมมองที่แปลก
มีสมาธิในสิ่งที่ตนสนใจ
พึงพอใจและสนุกสนานกับการใช้ความคิด
สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เปิดกว้างทางความคิดเพื่อพิจารณา
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความเชื่อมั่นทางความคิดและการกระทำ
มีความสามารถทางด้านการจินตนาการชอบคิดหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้แก้ปัญหา
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตและส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการทางความคิดให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมและตนเองได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จะเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนโดยเน้นกระบวนการ เทคนิควิธีเป็นสำคัญ มากกว่าการเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาสาระ เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีที่แฝงเร้นภายในตัวตนของบุคคล การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัยจึงสามารถที่จะกระทำได้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย
       กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีความต่อเนื่อง มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กตามระดับ และความสามารถในการแสดงออก เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกได้อย่างอิสระเท่าที่โอกาสและสิ่งแวดล้อมจะอำนวย การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องมาจากประสบการณ์การเล่น การได้สัมผัสต่างๆ ด้วยตัวเด็กเอง เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยที่การเรียนรู้ของเด็กได้มาจากการเล่นเป็นสำคัญ การสร้างสถานการณ์และจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรีย
       การส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถทำด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธีด้วยกัน อาทิการระดมพลังสมอง การคิดให้ได้ปริมาณมากและมีคุณภาพในช่วงเวลาที่จำกัด การฝึกจินตนาการหรือการคิดฝัน คิดในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น การฝึกแก้ปัญหาสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและอิสระ ช่วงแรกของชีวิตจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
      การส่งเสริมและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การส่งเสริมอิสรภาพในการทำงาน การหัดให้เด็กได้รู้จักชื่นชม และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ที่ควรได้รับการพัฒนา การจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำตามที่เด็กพึงพอใจ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ การสร้างวินัยในการทำงานที่ดี การให้โอกาสเด็กเพื่อค้นพบการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าและทดลองเพื่อค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง และคำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน


การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องให้เด็กฝึกคิดแลกไปจากคนอื่น ฝึกหัดให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกตนองให้มีความคุ้นเคยกับสิ่งที่แปลกอยู่เป็นประจำ ให้อิสรภาพและเวลาในการคิด คิดเชิงสมมติอยู่เสมอกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างคลุมเครือ ไม่ยึดติดกับความถูกต้องและความผิดพลาด แนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น    ได้แก่
       สอนให้เด็กได้รู้จักคิด คิดเป็น คิดหลายๆ แง่ และสามารถคิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ
กระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการถาม และสนใจต่อคำถามของเด็ก
นำวิธีการสอนที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดในเชิงสร้างสรรค์
สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระ
จัดสภาพห้องเรียนให้ดูแปลกใหม่อยู่เสมอ
ไม่ควรกำหนดรูปแบบความคิดและบุคลิกภาพของเด็กมากเกินไป
เมื่อเด็กเล่นจะแสดงพฤติกรรมอันเป็นความสามารถส่วนรวมในระดับที่มีอยู่ในตัวออกมา การคิดอย่างหลากหลายทิศทาง คิดริเริ่ม และคิดแก้ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการเล่นอย่างอิสระผ่านของเล่นเป็นเครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่น ซึ่งการเลือกของเล่นต้องใช้อายุเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องอุปกรณ์สำเร็จรูปเพียงแต่อุปกรณ์ของเล่นต้องเป็นอุปกรณ์ที่เปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบตัวเองได้คิด ค้นหา พัฒนาและคิดสร้างสรรค์ เช่น แท่งไม้ เศษผ้า ซึ่งเด็กสามารถนำไปคิดเป็นของเล่นได้หลายทิศทาง ภายหลังการเลือกของเล่นที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แล้ว ผู้ปกครองต้องพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ มีใจกว้างที่จะยอมรับความคิดเห็นการกระทำและผลงานของเด็ก ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจแก่เด็กผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
     เด็กปฐมวัยพัฒนาสติปัญญาของตนเพื่อการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวจากการสังเกต การเล่น และการซุกถามสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น พฤติกรรมทางการจำแนก การมองเห็น ความสัมพันธ์ และการเรียงลำดับ โดยเด็กจะพยายามเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของเด็กวัยนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงที่ได้รับการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม เด็กต้องเกิดความภูมิใจ และพอใจที่จะทำพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งนั้นๆ
     การจัดหาและเลือกสื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อดังนี้

ความเหมาะสมของสื่อตามวัยของเด็ก วัยปฐมวัยนั้นควรเป็นสื่อที่ช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้มีความอยากรู้อยากเห็น
คุณภาพในแง่ความปลอดภัย ความคงทน และการออกแบบ สื่อที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก สีต้องไม่สะสมปนตะกั่ว ขนาดมุมไม่แหลมคม
ประโยชน์ใช้สอย สื่อที่มีคุณภาพ ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่าง หรือนำมาดัดแปลงใช้ได้หลายโอกาส เล่นได้หลายคน และหลายวัตถุประสงค์
ประหยัด สะดวกในการจัดหาให้มีความหลากหลายและจำนวนที่เพียงพอ สื่อที่จะให้ประสบการณ์ตรงกับเด็กนั้นควรจะหาซื้อง่าย หรืออาจทำขึ้นมาได้เอง
การจัดประสบการณ์เพื่อการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยสื่อของเล่นจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกถึงความรู้สึกของตน การขีดเขียนด้วยเครื่องมือต่างๆ การสร้างด้วยวัสดุต่างๆ ให้เด็กมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักจัดหาและเลือกสื่อที่มีประโยชน์มีประสิทธิภาพและประหยัดมาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กด้วย
    การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ระหว่างที่เด็กเกิดปฏิสัมพันธ์กับสื่อของเล่นต่างๆ เป็นสิ่งที่ครูและผู้ปกครองคำนึงถึงว่าจะขาดเสียเลยมิได้ การสร้างบรรยากาศในการเล่น เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถจัดกระทำได้ ดังนี้


สร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิต บรรยากาศแห่งความไว้วางใจและการสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้เด็กมีอิสระในการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีบุคคลอื่น หรือสิ่งอื่นใดมารบกวนการเล่น
เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์งานจากสื่อของเล่นด้วยตัวเอง
ให้ความสนใจ และส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ โดยพยายามขจัดอุปสรรค หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้น้อยลง
สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับอีกทั้งกระตุ้นให้แสดงความคิดอย่างอิสระด้วยสถานการการเรียนแบบร่วมมือกันโดยไม่มีการแข่งขัน
จัดห้องเรียนแบบยืดหยุ่น ให้มีพื้นที่กว้างๆ เพื่อสามารถทำกิจกรรมบนพื้น ละสามารถดัดแปลงให้ทำงานเป็นกลุ่ม จับคู่ หรือทำงานเดี่ยว อย่างคล่องตัว
ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของความคิดเห็น และคำถามของเด็ก อีกทั้งพยายามตอบคำถามอย่างจริงจังเพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นและคำถามนั้นมีคุณค่า
บรรยากาศการเล่นเป็นปัจจัยเอื้อให้เด็กได้นำเสนอ และดึงความคิดสร้างสรรค์ที่แฝงเร้นภายในตัวเองออกมา เมื่อการเล่นไม่ใช่อุปสรรค์ที่ขวางกั้น การเกิดและปรับขยายให้กลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ โอกาสที่พัฒนาความคิดจะงอกงามก็จะเป็นไปได้
     ผู้ปกครองและนักการศึกษาควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาจินตนาการ กระตุ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพที่แท้จริงด้วยสื่อของเล่น การสร้างสภาวะไร้ขอบเขตจะช่วยให้เด็กไม่ติดตันทางความคิด ผลผลิตแห่งการคิดอย่างอิสระก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่และเหมาะสมต่อการพัฒนาตนเองและสังคม เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของชาติให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์ การส่งเสริมความงอกงามของความคิดสร้างสรรค์จึงต้องกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นทักษะตั้งแต่ขวบปีแรก

       


 

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 6 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 6 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 




     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฎีของนักทฤษฎี มีการแบ่งกลุ่มออก 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะได้นักทฤษฎี ตามนี้

1. ซิกมันด์  ฟรอยด์

2. อีริค  อีริคสัน

3. อาร์โนลด์  กีเซล

4. ฌอง เพียเจท์

5. ลอเรนซ์  โคลเบิร์ก

6. เจอโรม  บรุนเนอร์


กลุ่มของฉันได้ของนักทฤษฎี ซิกมันด์  ฟรอยด์

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมัน ฟรอยด์                                                           



ประวัติของซิกมัน ฟรอยด์      

        ฟรอยด์  เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม 1856 ในครอบครัวที่มีอาชีพขายขนสัตว์ เมื่ออายุได้ 4 ขวบ  ครอบครัวก็ได้ย้ายจากเชโกสโลวะเกียไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

             ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย  เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ  สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2482 รวมอายุ 83 ปี

          ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์  มีฐานะปานกลางซิกมันด์  ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก  เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์  จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต  ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย

ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ 
             มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้นยัง เชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinctual drive) และเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง บ้างจะแสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึง ความต้องการทางเพศ นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)เป็นพลังที่ทำให้มนุษย์

การทำงานของจิต แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) 

         การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยออกไปโดยไม่รู้ตัว ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักแห่งความพึงพอใจของตน และการทำงานของจิตไร้สำนึกเกิดจากความปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้

2. จิตสำนึก ( Conscious Mind )

             บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่บุคคลจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย

3. จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind )

            เป็นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้ หรือเมื่อบุคคลต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถระลึกได้และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้ และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตรู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual Drives ) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process)

โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)

         ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้

         1. อิด ( Id ) 

        จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดId ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ ( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle)

     2. อีโก้ ( Ego ) 

         จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่

      3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)

        เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
        ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) 

ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น ขั้น ได้แก่

1. ขั้นปาก (Oral Stage) 

          เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา

2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage)

          เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) 

          เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่

4. ขั้นแฝง (Latency Stage)

          เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 - 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ

5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage)

     เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์ ้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ

กลไกการเกิดอาการ (SYMPTOM FORMATION)

        ปกติแรงผลักดันต่าง ๆ ภายในจิตใจ และจากสิ่งแวดล้อมจะมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตลอด ไม่หยุดนิ่ง (dynamic) แรงผลักดันจาก id จะถูกต่อต้านโดย egoเนื่องจากหากความต้องการจาก id ได้ขึ้นสู่จิตสำนึก หรือแสดงออกโดยตรงอาจก่อให้เกิดผลเสียแก่บุคคลนั้นได้ ในบางขณะ superego จะเข้ามามีบทบาทร่วมด้วยแรงผลักดันที่มีลักษณะตรงข้ามกันเหล่านี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง (conflict) ขึ้น ซึ่งอาจเป็นความขัดแย้งของโครงสร้างต่าง ๆ ภายในจิตใจ หรืออาจเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นตอของความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้จะพบว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งระหว่างid กับ ego ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นจุดสำคัญในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เราเรียกความขัดแย้งระหว่าง id กับ ego นี้ว่า neurotic conflict

          เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจิตใจจะอยู่ในสภาพเสียสมดุล (disequilibrium)แรงผลักดันจาก id มีแนวโน้มจะพุ่งขึ้นสู่จิตสำนึก ภายใต้สถานการณ์นี้จะเกิดมีสัญญาณเตือนต่อ ego ในลักษณะของความรู้สึกวิตกกังวล (signal anxiety)ทำให้ ego ต้องแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กลไกทางจิต (defense mechanism) เข้าช่วย กลไกทางจิตที่ใช้เป็นลำดับแรกได้แก่ การเก็บกด (repression) ถ้าสำเร็จแรงผลักดันจาก id รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวเนื่องกับแรงผลักดันนี้จะถูกผลักกลับไปอยู่จิตไร้สำนึกตามเดิม เกิดความสมดุลของจิตใจขึ้นใหม่
ในกรณีที่กลไกทางจิตแบบเก็บกดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากแรงผลักดันจาก id รุนแรงมาก ego อ่อนแอลงในช่วงนั้น หรือมีปัจจัยภายนอกมาเสริมแรงผลักดันจาก id ego จะใช้กลไกทางจิตรูปแบบอื่น ๆ เข้าช่วย (auxillary defense) เช่น reaction formation หรือ projection ลักษณะการแสดงออกจะเป็นในรูปแบบของการประนีประนอม (compromise formation) กล่าวคือ ให้แรงผลักดันจาก id ได้ขึ้นมาสู่จิตสำนึกบางส่วนในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ความต้องการจากแรงผลักดันดั้งเดิมได้รับการตอบสนองบ้าง ในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึงแรงต่อต้านจาก ego ในรูปแบบของกลไกทางจิตที่ใช้เข้าช่วย อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยที่แสดงออกมานั้นเป็นผลรวมของแรงผลักดันจากid ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลไกทางจิตที่ ego ใช้เข้าช่วยเสริม repression และsignal anxiety ที่ยังอาจมีอยู่บ้าง
กลไกทางจิต (Defense Mechanism)

          กลไกทางจิตส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก ซึ่งผู้ป่วยจะไม่ตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ดังเช่นใน displacement ผู้ป่วยแสดงความฉุนเฉียวกับคนใช้ที่บ้าน เนื่องจากรู้สึกว่า คนใช้ชักช้า งุ่มง่าม ไม่เคยได้ดังใจ โดยที่ไม่ทราบว่าตามจริงแล้วเป็นจากการที่ตนโกรธหัวหน้างานแต่แสดงออกไม่ได้จึงมาระบายกับคนใช้
โดยลำพังในตัวของกลไกทางจิตเองไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ เนื่องจากเป็นการปรับตัวของ ego เพื่อให้จิตใจกลับสู่สมดุล แต่หากบุคคลนั้น ๆ มีการใช้กลไกทางจิตแบบเดิม ๆ อยู่เสมอ ใช้กลไกทางจิตจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ไม่ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์ หรือมีการใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสมกับวัยหรือสถานการณ์อยู่บ่อย ๆ ก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาหรือจิตพยาธิสภาพในบุคคลนั้นตามมา
แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
   
กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ฟรอยด์และบุตรีแอนนา ฟรอยด์ ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังต่อไปนี้

          1) การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่ง ลืมกลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมาก และอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้

          2) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัว โดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูก มักจะบอกว่า การตีทำเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องได้รับการทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตี เพราะโกรธลูก

           3) การถดถอย (Regress)ion หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้องใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้อง มีความรู้สึกว่าแม่ไม่รัก และไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับ จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง

            4) การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคม อาจจะไม่ยอมรับ ตัวอย่างแม่ที่ไม่รักลูกคนใดคนหนึ่ง อาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม โดยการแสดงความรักมากอย่างผิดปกติ

             5) การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming)  เป็นการสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้

             6) การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก อาจจะแยกตนปิดประตูอยู่คนเดียว

             7) การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคน หรือสิ่งของ ที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่ หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภรรยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภรรยา และลูก ๆ นักเรียนที่โกรธครู แต่ทำอะไรครูไม่ได้ ก็อาจจะเลือกสิ่งของ เช่น โต๊ะเก้าอี้เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโต๊ะ เก้าอี้

             8) การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่

กลไกในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล หรือแก้ไขปัญหาได้

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 5 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


ครั้งที่ 5 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 




         อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้มอบหมายให้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยเพื่อนออกมานำเสนอเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนอก็ได้หัวข้อที่แตกต่างกัน  เพื่อนๆนำเสนอได้น่าสนใจ และเนื้อหาก็ดี อธิบายค่อนข้างเข้าใจ เพื่อนๆรายงานหน้าห้องเสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดเนื้อหาเสริมเกี่ยวกับงานที่เพื่อนนำเสนอ เพื่อให้เราเข้าใจรายละเอียดมากยิ่งขึ้น  จากนั้นอาจารย์ก็ให้นำเสนออีกงานที่เป็นงานกลุ่มอีกอันหนึ่ง โดยมีเพื่อนนำเสนอกลุ่มเดียว โดยนำเสนอเป็นรูปแบบวีดีโอ พอเสร็จจากนั้นอาจารย์ก็ไห้คำแนะนำในการทำวิดีโอนำเสนองาน

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ และเพื่อนๆนำเสนได้ดีมาก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนละเอียด และให้ความรู้ในหลายๆเรื่อง
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ฟังที่เพื่อนพูด และฟังที่อาจารย์สอน